โรคทางประสาท ของ โรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค)

แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ (CPG-MDD-GP) ปี 2553 ของกรมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยสรุปโรคที่อาจเป็นในหมวดนี้ว่า โรคพาร์คินสัน, โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง, เนื้องอกในสมอง (meningioma), ความบาดเจ็บทางประสาท (trauma), ลูปัสขึ้นสมอง[50], โรคสมองเสื่อม[74], โรคลมชักส่วนสมองกลีบขมับที่อยู่ในระหว่างชัก (interictal phase)[75], โรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะสมองส่วนหน้าและซีกซ้าย จะเกิดภายในสองปีหลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมอง, โรคเนื้องอกสมองส่วนกลีบขมับและ diencephalon[76]

เนื้องอกในระบบประสาทกลาง

นอกจากเนื้องอกที่ต่อมหมวกไตแล้ว เนื้องอกในส่วนต่าง ๆ ของระบบประสาทกลางอาจเป็นเหตุอาการซึมเศร้า และเป็นเหตุให้ได้วินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า[29][77]

กลุ่มอาการหลังสมองถูกกระแทก

Post-concussion syndrome (กลุ่มอาการหลังสมองถูกกระแทก ตัวย่อ PCS), เป็นอาการที่อาจมีเป็นอาทิตย์ ๆ เดือน ๆ หรือปี ๆ หลังจากการกระแทกกระเทือน (concussion) โดยมีอัตราความชุกที่ 38-80% ในการบาดเจ็บทางสมองขั้นอ่อน แต่ก็อาจเกิดขึ้นด้วยในขั้นปานกลางและรุนแรง[78]ถ้ามีอาการจากการถูกระแทกเกินกว่า 3-6 เดือน (ขึ้นอยู่กับเกณฑ์วินิจฉัย) หลังจากการบาดเจ็บ ก็จะผ่านเกณฑ์วินิจฉัยที่เรียกว่าเป็น persistent postconcussive syndrome (PPCS)[79][80][81][82][83]ในงานศึกษาความชุกของกลุ่มอาการหลังสมองถูกกระแทกในคนไข้ที่เป็นโรคซึมเศร้าโดยใช้แบบวัด British Columbia Postconcussion Symptom Inventory พบว่า"คนไข้ประมาณ 9 ใน 10 คนที่เป็นโรคซึมเศร้าผ่านเกณฑ์วินิจฉัยที่รายงานเองแบบหลวม ๆ ว่ามีกลุ่มอาการหลังสมองถูกกระแทก และมากกว่า 5 ใน 10 คน ผ่านเกณฑ์แบบเข้ม"แต่ว่าอัตราที่รายงานเองเช่นนี้สูงกว่าที่ได้จากการสอบสวนทางคลินิกตามแผนอย่างสำคัญกลุ่มควบคุมที่ปกติก็รายงานอาการของ PCS เช่นกัน เทียบกับกลุ่มที่สืบหาบริการทางจิตมีข้อขัดแย้งอย่างพอสมควรในการวินิจฉัย PCS โดยส่วนหนึ่งก็เพราะผลทางการแพทย์-ทางกฎหมาย และผลทางการเงินที่มาจากการได้วินิจฉัยเช่นนี้[84]

การวินิจฉัยแยกโรค PBA และโรคซึมเศร้า

Pseudobulbar affect

Pseudobulbar affect (PBA) เป็นกลุ่มอาการยับยั้งการแสดงอารมณ์ไม่ได้ ที่มักจะไม่รู้จักในสถานรักษาพยาบาลและดังนั้นบ่อยครั้งจะไม่ได้การรักษาเพราะไม่รู้อาการของโรคและอาจได้วินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคซึมเศร้า[85]โดยอาจเกิดเป็นภาวะของโรคประสาทเสื่อมอย่างอื่น ๆ เช่น amyotrophic lateral sclerosis และอาจเกิดจากการบาดเจ็บทางสมองได้ด้วยPBA กำหนดโดยการหัวเราะและร้องไห้อย่างควบคุมไม่ได้และไม่สมควรโดยมีอัตราชุกที่สูงโดยประเมินว่ามีคนเป็น 1.5-2 ล้านคนในประเทศสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว[86]

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมเรื้อรังที่ปลอกไมอีลินของเซลล์ในสมองและไขสันหลังเกิดความเสียหายอย่างฟื้นคืนไม่ได้อาการซึมเศร้าเป็นเรื่องสามัญมากสำหรับคนไข้ที่มีโรคทุกระยะและอาจแย่ลงด้วยการรักษาโรค ที่เด่นที่สุดก็คือการรักษาด้วยอินเตอร์เฟียรอนแบบ beta-1a[87]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค) http://www.neurosono.com.br/arquivos/1155473343.pd... http://www.cnsspectrums.com/aspx/articledetail.asp... http://www.emedicine.com/emerg/topic865.htm http://emedicine.medscape.com/article/123223-overv... http://emedicine.medscape.com/article/805459-overv... http://www.medscape.com/viewarticle/582125 http://www.medscape.com/viewarticle/723266 http://www.medterms.com/script/main/art.asp?articl... http://www.merriam-webster.com/dictionary/differen... http://www.newsweek.com/2007/11/21/the-demon-in-my...